ความสำคัญที่สถาบันอุดมศึกษา ต้องส่งเสริม ให้นิสิตเรียนรู้เรื่อง BCG ในวิชาศึกษาทั่วไป

เพื่อให้การจัดวิชาศึกษาทั่วไปในหลักสูตรระดับปริญญาตรีมีความชัดเจน ตามความมุ่งหมายโดย “ผู้เรียนสามารถบูรณาการองค์ความรู้ให้เชื่อมโยงกับชีวิตและวิถีการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบันและในอนาคต เป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อบ่มเพาะให้นิสิตนักศึกษามีจิตวิญญาณของการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong learning)  มีการปรับเปลี่ยนตนเองและมีชีวิตอย่างมีความสุขท่ามกลางสังคมโลกในศตวรรษที่ 21” 

BCG ECONOMY จึงมีความสำคัญในวิชาศึกษาทั่วไป

(1)  เพื่อการเป็นมนุษย์ที่พร้อมสำหรับโลกในปัจจุบันและอนาคต  BCG เป็นองค์ความรู้ที่จำเป็นเพื่อความอยู่รอดสำหรับมนุษย์ในทุก GENERATION

(2)  BCG มีกิจกรรมหลายอย่างเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21

(3)  BCG สร้างการตระหนักรู้ถึงการบูรณาการศาสตร์ต่าง ๆ ในการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหา ทั้งเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม

(4)  BCG สร้างโอกาสและคุณค่าให้มนุษย์ในการเข้าถึงและใช้ทรัพยากร

(5)  BCG มีองค์ความรู้หลายประเด็นที่สอดรับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยและโลก

(6)  BCG สร้างคุณลักษณะให้ดำรงตนเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง ยึดมั่นในสิ่งที่ถูกต้องโดยเฉพาะในเรื่องสิ่งแวดล้อม

(7)  BCG เน้นการร่วมมือรวมพลัง เพื่อสร้างสรรค์และพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน ตามเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน

สำหรับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการจัดการเรียนการสอนวิชาศึกษาทั่วไปซึ่งกำหนดไว้ทั้ง 5 กลุ่มสาระ คือ 1) อยู่ดีมีสุข 2) ศาสตร์แห่งผู้ประกอบการ 3) ภาษากับการสื่อสาร 4) พลเมืองไทยพลเมืองโลก และ 5) สุนทรียศาสตร์ รวม 30 หน่วยกิต มีวิชาบังคับ 2 หน่วยกิต ได้แก่ วิชาศาสตร์แห่งแผ่นดิน ซึ่งเป็นรายวิชาที่บูรณาการศาสตร์ เน้นผลการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถนำศาสตร์ต่าง ๆ ไปใช้ในชีวิตประจำวันและการทำงานโดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมไทยและสังคมโลก นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ตระหนักถึงความสำคัญโดยมีรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับ BCG อีกหลายรายวิชากระจายกันอยู่ในกลุ่มสาระต่าง ๆ เพื่อเป็นสร้างเม็ดพันธุ์ของนิสิตให้มีจิตสำนึกในเรื่องที่มีความเกี่ยวข้องกับ BCG เพื่อให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ได้แก่ วิชาแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อความยั่งยืน (Circular Economy Concept for Sustainability) เน้นให้ผู้เรียนมีผลลัพธ์การเรียนรู้ คือ 1) สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างทรัพยากรธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้ 2) ออกแบบธุรกิจและวางแผนโครงงานภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน และ 3) สามารถแสดงความคิดเห็นที่สะท้อนถึงความตระหนักด้านทรัพยากร สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

1. กลุ่มสาระอยู่ดีมีสุข (Wellness) คำอธิบาย การมีชีวิตและการดำเนินชีวิตที่ดี อันประกอบด้วย การมีสุขภาพที่ดีทั้งร่างกาย และจิตใจ สังคมและปัญญา มีคุณธรรม จริยธรรม มีการพึ่งพาตนเองบนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เข้าใจและเห็นใจคุณค่าของตนเองและผู้อื่น การสร้างครอบครัวให้อบอุ่นมั่นคง สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข

ลำดับที่รหัสวิชาชื่อวิชาคำอธิบาย 
1.601999051การพัฒนาสมรรถนะหลักผ่านสุขภาพหนึ่งเดียว (Develop of Core Competency through One Health) 2(2-0-4)แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว สถานการณ์ของสุขภาพหนึ่งเดียวในประเทศไทย การพัฒนาสมรรถนะหลักทั้ง 7 สมรรถนะดูรายละเอียด
1.401999036ความสุขในพลวัตของชีวิต (Happiness amongst Life Dynamics) 3(3-0-6)แนวคิดของความสุข พลวัตในชีวิต การเห็นคุณค่าตนเองดูรายละเอียด
1.501999048 นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาวะ (Innovation for Environment and Well-being) 3(3-0-6)พลวัตการพัฒนาและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาวะ บทบาทของนวัตกรรมต่อการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมดูรายละเอียด
1.301999033ศิลปะการดำเนินชีวิต (Arts of Living) 3(3-0-6)การคิดอย่างมีเหตุผล มีจริยธรรม ความคิดสร้างสรรค์ดูรายละเอียด
1.701999213สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีและชีวิต (Environment, Technology and Life) 3(3-0-6)ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและการวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และคุณภาพชีวิตดูรายละเอียด
1.201999012 สุขภาพเพื่อชีวิต (Health for Life) 3(3-0-6)กลไกการกำเนิดและพัฒนาการของมนุษย์ดูรายละเอียด
1.101999011อาหารเพื่อมนุษยชาติ (Food for Mankind) 3(3-0-6)ความสัมพันธ์ของการผลิตอาหารกับความต้องการอาหารของประชากรดูรายละเอียด

2. กลุ่มสาระศาสตร์แห่งผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) คำอธิบาย โอกาสและการดำเนินการทางธุรกิจ ความคิดแบบองค์รวม ความคิดสร้างสรรค์ การสร้างนวัตกรรมบนเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ การเชื่อมโยงกระบวนการคิดเพื่อแก้ปัญหา แนวทางการแก้ปัญหาที่สร้างสรรค์ สร้างความมุ่งมั่น การแสวงหาความรู้และต่อยอด การบริหารจัดการอย่างมีจริยธรรม การให้บริการตลอดจนความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี

ลำดับที่รหัสวิชาชื่อวิชาคำอธิบาย 
2.201999043การคิดสร้างสรรค์เพื่อการจัดการคุณค่า (Creativity for Value Management) 3(3-0-6)ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการคิดสร้างสรรค์ วิวัฒนาการและโลกทัศน์ของแนวคิดยุคใหม่ดูรายละเอียด
2.101999041เศรษฐศาสตร์เพื่อการดำเนินชีวิตที่ดี (Economics for Better Living) 3(3-0-6)ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจกับการดำเนินชีวิตที่ดีดูรายละเอียด
2.301999112แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อความยั่งยืน (Circular Economy Concept for Sustainability) 3(2-3-6)การเรียนรู้คุณค่าธรรมชาติต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในด้านการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ดูรายละเอียด

3. กลุ่มสาระพลเมืองไทยและพลเมืองโลก (Thai Citizen and Global Citizen) คำอธิบาย การเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของสังคมไทยและสังคมโลก มีความรอบรู้อย่างกว้างขวาง มีโลกทัศน์กว้างไกล ตระหนักในสิทธิและหน้าที่ของพลเมือง ความภาคภูมิใจในการเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลก เห็นคุณค่าของความเหมือนและความต่างเข้าใจถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความเท่าเทียมในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ตระหนักถึงคุณค่าและเอกลักษณ์ที่ดีงามของไทย การมีจิตอาสา และสำนึกสาธารณะ

ลำดับที่รหัสวิชาชื่อวิชาคำอธิบาย 
3.601999047การทหารเพื่อพัฒนาประเทศ (Military for Country Development) 3(3-0-6)ความมั่นคงแห่งชาติ วิวัฒนาการทางทหารและความสัมพันธ์ระหว่างพลเรือนกับทหารดูรายละเอียด
3.501999046การพัฒนาความมั่นคงแห่งชาติ(National Security Development) 3(3-0-6)วิวัฒนาการด้านความมั่นคงของชาติไทยดูรายละเอียด
3.201999013พลเมืองดิจิทัล (Digital Citizens) 3(2-2-5)การเป็นพลเมืองดิจิทัล การเข้าถึงดิจิทัล สุขภาวะดิจิทัลดูรายละเอียด
3.701999141มนุษย์กับสังคม (Man and Society) 3(3-0-6)พื้นฐานของมนุษย์โดยธรรมชาติ พฤติกรรม การตั้งถิ่นฐานดูรายละเอียด
3.301999031 มรดกอารยธรรมโลก (The Heritage of World Civilizations) 3(3-0-6)มรดกอารยธรรมโลกตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบันดูรายละเอียด
3.801999113วัยใสใจสะอาด (Honest Youngsters) 3(3-0-6)ฐานคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตน ผลประโยชน์ส่วนรวม ผลประโยชน์ทับซ้อนดูรายละเอียด
3.101999111ศาสตร์แห่งแผ่นดิน (Knowledge of the Land) 2(2-0-4)แนวคิดของศาสตร์แห่งแผ่นดินเพื่อความกินดีอยู่ดีของชาติดูรายละเอียด
3.401999032ไทยศึกษา (Thai Studies) 3(3-0-6)ประวัติศาสตร์ ศาสนา ภาษา วรรณคดี ศิลปะ ดนตรี ภูมิปัญญาท้องถิ่นดูรายละเอียด

4. กลุ่มสาระภาษากับการสื่อสาร (Language and Communication) คำอธิบาย การใช้ภาษาและการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์ ทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ พัฒนาทักษะการพูด การฟัง การอ่าน การเขียน การนำเสนอที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มบุคคลที่แตกต่างกัน สามารถรู้เท่าทันสื่อและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร การสืบค้นข้อมูล การรวบรวม และการวิเคราะห์ข้อมูล

ลำดับที่รหัสวิชาชื่อวิชาคำอธิบาย 
4.301999023ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) 2(1-2-4)คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ระบบ ความมั่นคงปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์ดูรายละเอียด
4.101999021ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร (Thai Language for Communication) 3(3-0-6)ภาษาไทยในการสื่อสาร และการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาไทยดูรายละเอียด
4.201999022ภาษาไทยในบริบทวัฒนธรรม (Thai Language in Cultural Context) 3(3-0-6)ความสัมพันธ์ระหว่างภาษา ความคิด สังคมและวัฒนธรรมดูรายละเอียด

5. กลุ่มสาระสุนทรียศาสตร์ (Aesthetics) คำอธิบาย ความซาบซึ้งและเห็นคุณค่าของความงาม และความไพเราะที่สามารถรับรู้ได้จากประสาทสัมผัส ความงามในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความงามที่มนุษย์สร้างขึ้น รวมถึงความดีงาม การพัฒนาความรู้เพื่อเข้าถึงความงาม ความเข้าใจธรรมชาติของชีวิตและดำรงตนให้มีคุณค่าต่อสังคม สร้างสรรค์สิ่งดีงามและรักษาไว้อย่างรู้คุณค่ามีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาตนเองทั้งทางร่างกาย จิตใจ ความอ่อนไหว สุนทรียะ และมิติทางจิตวิญญาณ

ลำดับที่รหัสวิชาชื่อวิชาคำอธิบาย 
5.201999035วัฒนธรรมดนตรีกับชีวิต (Music Culture in Life) 3(3-0-6)การส่งเสริมจินตนาการเพื่อสุนทรีย์และการสร้างสรรค์ดูรายละเอียด
5.101999034 ศิลปวิจักษณ์ (Art Perception) 3(3-0-6)การรับรู้เกี่ยวกับแนวคิด ความงาม หน้าที่ การแสดงออกดูรายละเอียด